โครงงาน IS เรื่อง การดับกลิ่นมูลไก่ด้วยสารธรรมชาติ
หน้าปก
รายงานโครงงาน
IS
“การดับกลิ่นมูลไก่ด้วยสารธรรมชาติ”
คณะผู้จัดทำ
ด.ญ.
พิทยาภรณ์ วงศ์จุฬาลักษณ์ ม.2/3
ด.ญ.
ลภัสรดา ทำสุนา ม.2/3
ด.ญ.
ศศิธร วราเอกศิริ ม.2/3
ครูที่ปรึกษา
คุณครูรสมาริน โอสธีรกุล
คุณครูลำดวน บุญรังสี
โรงเรียนสงวนหญิง
อำเภอเมืองฯ
จังหวัดสุพรรณบุรี
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
โครงงาน IS “เรื่อง
การดับกลิ่นมูลไก่ด้วยสารธรรมชาติ”
ทางคณะผู้จัดทำได้ศึกษาการดับกลิ่นมูลไก่ด้วยสารธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพดี
นอกจากนี้ยังได้นำสารที่คิดว่า สามารถดับกลิ่นมูลไก่ได้ดี
มาดับกลิ่นมูลไก่ให้มีกลิ่นน้อยลง โดยไม่ต้องไปซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีราคาแพง
ซึ่งผู้จัดทำได้ทำการทดลอง ณ บ้านเลขที่ 90 – 92 ถ.เทศบาล 1 อ.สองพี่น้อง
ต.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
ขอขอบพระคุณ คุณครูรสมาริน โอสธีรกุล คุณครูลำดวน บุญรังสี และคุณพ่อ
คุณแม่ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือ
ให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ จนโครงงานนี้สำเร็จด้วยดี
คณะผู้จัดทำ
บทคัดย่อ
โครงงาน IS “การดับกลิ่นมูลไก่ด้วยสารธรรมชาติ”
สถานศึกษา บ้านเลขที่ 90 – 92 ถ.เทศบาล 1 อ.สองพี่น้อง
ต.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
ผู้จัดทำ 1. ด.ญ. พิทยาภรณ์ วงศ์จุฬาลักษณ์
2.
ด.ญ. ลภัสรดา ทำสุนา
3.
ด.ญ. ศศิธร วราเอกศิริ
คุณครูที่ปรึกษา คุณครูรสมาริน โอสธีรกุล
คุณครูลำดวน บุญรังสี
บทคัดย่อ
โครงงาน
IS “การดับกลิ่นมูลไก่ด้วยสารธรรมชาติ”
ทางคณะผู้จัดทำได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดับกลิ่นมูลไก่ด้วยสารธรรมชาติ
โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 การทดลอง ตอนที่ 1 ศึกษาชนิดของสารธรรมชาติที่ลดกลิ่นมูลไก่ได้ดี
พบว่าน้ำมะกรูดสามารถลดกลิ่นมูลไก่ได้ดีที่สุด ตอนที่ 2
ศึกษาอัตราส่วนของมูลไก่ต่อปริมาณสารธรรมชาติที่เหมาะสม
พบว่าอัตราส่วนของมูลไก่ต่อปริมาณสารธรรมชาติที่เหมาะสม คือ 2:3 ตอนที่ 3 ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของสารธรรมชาติที่สามารถลดกลิ่นมูลไก่ได้ดีขึ้น
พบว่าการเพิ่มประสิทธิภาพของสารธรรมชาติที่สามารถลดกลิ่นมูลไก่ได้ดีขึ้น คือ
อัตราส่วนของน้ำมะกรูด : น้ำมะนาว เป็น 2 : 1
บทที่ 1
บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เนื่องจากฟาร์มไก่ตั้งอยู่ติดกับบ้านจัดสรรพบว่า
กลิ่นของมูลไก่มีกลิ่นเหม็นส่งผลกระทบกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบ้านจัดสรร
คณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหากลิ่นของมูลไก่ ให้มีกลิ่นน้อยลง โดยใช้สารธรรมชาติเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ
และรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน
แล้วยังได้รับผลประโยชน์ทั้งสองฝ่ายโดยทางเราไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมี
และไก่จะได้ไม่ต้องเสียสุขภาพ และตายด้วยสารเคมี
ส่วนทางบ้านจัดสรรก็จะไม่ได้รับผลกระทบจากกลิ่นมูลไก่อีก
แนวคิดในการทำโครงงาน
คณะผู้จัดทำได้ศึกษาชนิดของสารธรรมชาติที่ลดกลิ่นมูลไก่ได้ดีขึ้น
ศึกษาอัตราส่วนของมูลไก่ต่อปริมาณสารธรรมชาติที่เหมาะสม
ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของสารธรรมชาติที่สามารถลดกลิ่นมูลไก่ได้ดีขึ้น
จากการศึกษาการลดกลิ่นมูลไก่ด้วยสารธรรมชาติ
คณะผู้จัดทำไดนำสารธรรมชาติมาเผยแพร่ให้แก่คุณครู นักเรียน ผู้ปกครอง ภารโรง
และชุมชนเพื่อที่จะได้เป็นโครงงาน IS ที่เป็นลักษณะวิจัย นำไปใช้และพัฒนา (Research and Development)
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1.
เพื่อศึกษาชนิดของสารธรรมชาติที่ลดกลิ่นมูลไก่ได้ดี
2.
เพื่อศึกษาอัตราส่วนของมูลไก่ต่อปริมาณสารธรรมชาติที่เหมาะสม
3.
เพื่อศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของสารธรรมชาติที่ลดกลิ่นมูลไก่ได้ดีขึ้น
สมมติฐาน
1.
ชนิดของสารธรรมชาติต่างกันมีผลต่อความสามารถในการลดกลิ่นมูลไก่ได้ต่างกัน
2.
อัตราส่วนของมูลไก่ต่อปริมาณสารธรรมชาติต่างกันมีผลต่อประสิทธิภาพในการลดกลิ่นมูลไก่ได้ต่างกัน
3.
การเพิ่มประสิทธิภาพของของสารธรรมชาติสามารถลดกลิ่นมูลไก่ได้ดีขึ้น
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
การทดลองที่ 1 ศึกษาชนิดของสารธรรมชาติที่ลดกลิ่นมูลไก่ได้ดี
ตัวแปรต้น ชนิดของสารธรรมชาติ
ตัวแปรตาม ความสามารถในการลดกลิ่นมูลไก่
ตัวแปรควบคุม ปริมาณสารธรรมชาติปริมาณมูลไก่ ระยะเวลาสถานที่
การทดลองที่ 2 ศึกษาอัตราส่วนของมูลไก่ต่อปริมาณสารธรรมชาติที่เหมาะสม
ตัวแปรต้น อัตราส่วนของมูลไก่ต่อปริมาณสารธรรมชาติ
ตัวแปรตาม ความสามารถในการลดกลิ่นมูลไก่
ตัวแปรควบคุม ปริมาณสารธรรมชาติ ปริมาณมูลไก่ ระยะเวลา สถานที่
การทดลองที่ 3 ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของสารธรรมชาติที่ลดกลิ่นมูลไก่ได้ดีขึ้น
ตัวแปรต้น การเพิ่มประสิทธิภาพของสารธรรมชาติ
ตัวแปรตาม ความสามารถในการลดกลิ่นมูลไก่
ตัวแปรควบคุม ปริมาณสารธรรมชาติ ปริมาณมูลไก่ ระยะเวลา
สถานที่
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1.
ชนิดของวัสดุที่ใช้ในการศึกษา
คือ มะนาว ตะไคร้ มะกรูด
2.
ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง
คือ 3 5
7 9 11 วัน
3.
ชนิดของวัสดุที่ใช้ในการศึกษา
คือ น้ำมะกรูด น้ำมะนาว น้ำตะไคร้
นิยามเชิงปฏิบัติการ
ประสิทธิภาพในการลดกลิ่นมูลไก่ หมายถึง เมื่อนำน้ำมะกรูด น้ำมะนาว น้ำตะไคร้
ไปใส่ในมูลไก่ในแต่ละโหล แล้วทิ้งไว้เป็นเวลา 3 วัน พบว่าสามารถลดกลิ่นมูลไก่ได้ดี ปานกลาง และต่ำ
บทที่ 2
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ตะไคร้
ชื่อทางวิทยาศาสตร์
: Cymbopogon citrates ถิ่นกำเนิด ตะไคร้มีถิ่นกำเนิด
ในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย ในทวีปอเมริกาใต้ และคองโก
ลักษณะโดยทั่วไป โดยทั่วไปแบ่งตะไคร้ออกเป็น
6 ชนิด ได้แก่
1. ตะไคร้กอ
2. ตะไคร้ต้น
3. ตะไคร้หางนาค
4. ตะไคร้น้ำ
5. ตะไคร้หางสิงห์
6. ตะไคร้หอม
เป็นพืชตระกูลหญ้า
ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร
มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร
ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย
ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป
มะนาว
มะนาว
มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Lime และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า
Citrus Aurantifolia Swingle หรือ Citrus
Aurantifolia Swing เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดอยู่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นผู้ที่เรียนรู้การใช้มะนาวเป็นอย่างดีรวมทั้งประเทศไทยด้วย
มะนาวเป็นพืชที่ออกผลตลอดทั้งปี แต่ในช่วงหน้าแล้งจะออกผลน้อยกว่าปกติ ลักษณะทั่วไป
ผลมะนาวโดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 – 4.5 เซนติเมตร
ต้นมะนาวเป็นไม้พุ่มเตี้ย สูงเต็มที่ราว 5 เมตร
ก้านมีหนามเล็กน้อย มักมีใบดก ใบยาวเรียวเล็กน้อย คล้ายใบส้ม ส่วนดอกสีขาวอมเหลือง
ปกติจะมีดอกผลตลอดทั้งปี แต่ในช่วงหน้าแล้ง จะออกผลน้อย และมีน้ำน้อย มะนาวมีน้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นสดชื่น
เพราะมีส่วนประกอบของสารซิโตรเนลลัล (Citronellal) ซิโครเนลลิล
อะซีเตต (Citronellyl Acetate) ไลโมนีน (Limonene) ไลนาลูล (Linalool) เทอร์พีนีออล (Terpeneol)
ฯลฯ รวมทั้งมีกรดซิตริค (Citric Acid) กรดมาลิค
(Malic Acid) และกรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid) ซึ่งถือเป็นกรดผลไม้ (AHA : Alpha Hydroxy Acids) กลุ่มหนึ่ง
เป็นที่ยอมรับว่าช่วยให้ผิวหน้าที่เสื่อมสภาพหลุดลอกออกไป พร้อมๆ
กับช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ๆ ช่วยให้รอยด่างดำหรือรอยแผลเป็นจางลง กระดาษลิตมัส
กระดาษลิตมัส
(อังกฤษ: Litmus) เป็นกระดาษที่ใช้ทดสอบสมบัติความเป็นกรด-เบสของของเหลว กระดาษลิตมัสมีสองสีคือสีแดงหรือสีชมพู และสีน้ำเงินหรือสีฟ้า วิธีใช้คือการสัมผัสของเหลวลงบนกระดาษ
ถ้าหากของเหลวมีสภาพเป็นกรด (pH < 4.5) กระดาษจะเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง
และในทางกลับกันถ้าของเหลวมีสภาพเป็นเบส (pH > 8.3) กระดาษจะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน
ถ้าหากเป็นกลาง (4.5 ≤ pH ≤ 8.3) กระดาษทั้งสองจะไม่เปลี่ยนสี และเป็นกระดาษที่ใช้ฝนการทดสอบสมบัติความเป็นกรด-เบส –กลาง ของสารเราสามารถผลิดกระดาษลิตมัสได้เองโดยนำกระดาษสีขาวลงไปแช่น้ำคั้นดอกอัญชันจะได้กระดาษลิตมัสมีสีน้ำเงิน
หากนำไปแช่ในน้ำคั้นดอกเฟื่องฟ้าสีชมพูจะได้กระดาษลิตมัสสีแดง
เมื่อตากแห้งก็สามารถนำทดสอบความเป็นกรด-เบส-กลางกรด
เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง
กรดทำปฏิกิริยากับโลหะและสารประกอบคาร์บอเนตได้แก๊สและทำให้โลหะและสารประกอบคาร์บอเนตผุกร่อน
กรดโดยทั่วไปมีรสเปรี้ยว เบส เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน
ทำปฏิกิริยากับสารละลายฟินอล์ฟทา ลีน
ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีจากไม่มีสีเป็นสีชมพูเข้ม สารละลายกรดและเบสนำไฟฟ้าได้
แอลกอฮอลล์
ในทางเคมี แอลกอฮอล์ (อังกฤษ: alcohol) คือสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิลหรือหมู่ที่แทนแอลคิล
สูตรทั่วไปของแอลกอฮอล์แบบอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสายตรง) คือ CnH2n+1OH
โดยทั่วไป แอลกอฮอล์ มักจะอ้างถึงเอทานอลเกือบจะเพียงอย่างเดียว
หรือเรียกอีกอย่างว่า grain alcohol ซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่มีสี
ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหยได้ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาล
นอกจากนี้ยังสามารถใช้อ้างถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นที่มาของคำว่าแอลกอฮอลิซึ่ม (alcoholism—โรคพิษสุราเรื้อรัง)
เอทานอลเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาท ที่ลดการตอบสนองของระบบประสาทส่วนกลาง แอลกอฮอล์ชนิดอื่น
ๆ จะอธิบายด้วยคำวิเศษณ์เพิ่มเติม เช่น isopropyl alcohol (ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์) หรือด้วยคำอุปสรรคว่า -ol เช่น isopropanol (ไอโซโพรพานอล)
มะกรูด
มะกรูด (อังกฤษ: Kaffir lime, เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈkæfərˌlaɪm/) เป็นพืชในสกุลส้ม (Citrus) มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด
นอกจากในประเทศไทยและลาวแล้ว ยังมีความนิยมในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (โดยเฉพาะบาหลี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก
เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งมีหนามยาวเล็กน้อย ใบเป็นใบประกอบชนิดลดรูป มีใบย่อย
1 ใบ เรียงสลับ รูปไข่ คือมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2
ใบ ต่อกันอยู่ คอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆ
มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน กว้าง 2.5-4
เซนติเมตร ยาว 4-7 เซ๋นติเมตร
ใบสีเขียวแก่พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่
ซึ่งผลแบบนี้เรียกว่า hesperitium (ผลแบบส้ม) ใบด้านบนสีเข้ม
ใต้ใบสีอ่อน ดอกออกเป็นกระจุก 3 – 5 ดอก กลีบดอกสีขาว
เกสรสีเหลือง ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม มีผลสีเขียวเข้มคล้ายมะนาวผิวเปลือกนอกขรุขระ
ขั้วหัวท้ายของผลเป็นจุก ผลอ่อนมีเป็นสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด
พันธุ์ที่มีผลเล็ก ผิวจะขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่ขั้ว ภายในมีเมล็ดจำนวนมากๆ
การใช้ประโยชน์
การใช้มะกรูดสระผมน่าจะรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ
วิธีการสระ บ้างก็ใช้ผลดิบผ่าแล้วบีบน้ำสระโดยตรง บ้างก็นำไปเผา หรือต้มก่อนสระ
มะกรูดยังมีใช้ในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือนไว้
ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อยประกอบในพิธีด้วย
เข้าใจว่าน่าจะใช้เพื่อการสระผมนั่นเอง และก็สามารถนำไปล้างพื้นได้ด้วย
ซึ่งเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งเช่นกัน
น้ำมะกรูดมีรสเปรี้ยว
กลิ่นฉุนคล้ายใบ แต่ใช้น้อยกว่าน้ำมะนาว ใช้ปรุงรสเปรี้ยวแทนมะนาวได้
เช่นในปลาร้าหลน น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกมะกรูด มะกรูดมีส่วนเปลือกที่หนา
ส่วนเปลือกนิยมนำผิวมาประกอบอาหารบางชนิดด้วย ในมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก
ใบมะกรูดนั้นใส่ในต้มยำทุกชนิด น้ำยาขนมจีน ยำหอย ใส่ในแกงเช่นแกงเผ็ด แกงเทโพ แต่ถ้าใส่มากเกินไปจะมีรสขมมีกลิ่นฉุน
ทั้งในใบ และผล
บางครั้งสามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้ผลมะกรูดผ่าซีกที่บีบน้ำออกแล้ว
ใช้เป็นยาดับกลิ่นในห้องสุขาได้
บทที่ 3
บทที่ 3
วิธีการดำเนินการศึกษา
สถานที่และระยะเวลา
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง
“การดับกลิ่นมูลไก่ด้วยสารธรรมชาติ” ได้ดำเนินการศึกษา ณ บ้านเลขที่ 90-92 ถ.
เทศบาล 1 อ. สองพี่น้อง ต. สองพี่น้อง จ. สุพรรณบุรี เป็นเวลา 9 วัน
วัสดุอุปกรณ์
1.
ตะไคร้
2.
มะนาว
3.
ใบมะกรูด
4.
กระดาษลิตมัส
5.
ขวดโหลแก้ว
6.
แอลกอฮอล์
7.
มูลไก่
8.
เข็มฉีดยา
9.
ถุงร้อน
10. ยางรัดของ
ตอนที่
1 การทดลอง แบ่งออกเป็น 3 การทดลอง ดังนี้
การทดลองที่ 1 ศึกษาชนิดของสารธรรมชาติที่ลดกลิ่นมูลไก่ได้ดี
การทดลองที่ 2 ศึกษาอัตราส่วนของมูลไก่ต่อปริมาณสารธรรมชาติที่เหมาะสม
การทดลองที่ 3 ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของสารธรรมชาติที่สามารถลดกลิ่นมูลไก่ได้ดีขึ้น
การทดลองที่ 1
ศึกษาชนิดของสารธรรมชาติที่ลดกลิ่นมูลไก่ได้ดี
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
เพื่อศึกษาชนิดของสารธรรมชาติที่ลดกลิ่นมูลไก่ได้ดี
สมมติฐาน
ชนิดของสารธรรมชาติต่างกันมีผลต่อความสามารถในการลดกลิ่นมูลไก่ได้ต่างกัน
ตัวแปร
ตัวแปรต้น ชนิดของสารธรรมชาติ
ตัวแปรตาม ความสามารถในการลดกลิ่นมูลไก่
ตัวแปรควบคุม ปริมาณสารธรรมชาติ, ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง, ปริมาณมูลไก่, สถานที่
วิธีการทดลอง
1. นำตะไคร้ และใบมะกรูด
มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อให้สมุนไพรออกกลิ่นได้เร็วกว่าการที่ต้มโดยไม่หั่น
2. นำตะไคร้
และใบมะกรูดที่หั่นแล้ว มาต้มในแอลกอฮอล์
3. นำตะไคร้
และใบมะกรูดที่ต้มแล้วมากรองนำกากออก จะได้น้ำตะไคร้ และน้ำมะกรูด
4. นำมะนาวมาคั้นเอาแต่น้ำ
จะได้น้ำมะนาว
5. เตรียมมูลไก่ใส่ในขวดโหล 3 ขวด
โดยใส่มูลไก่ขวดละ 100 กรัม สังเกต และบันทึกผล
6.
นำน้ำตะไคร้ฉีดพ่นลงในขวดโหลขวดที่ 1 และติดป้ายกำกับไว้ว่า น้ำตะไคร้ ทิ้งไว้เป็นเวลา 3 วัน สังเกต
และบันทึกผล
7.
นำน้ำมะกรูดฉีดพ่นลงในขวดโหลขวดที่ 2 และติดป้ายกำกับไว้ว่า น้ำมะกรูด ทิ้งไว้เป็นเวลา 3 วัน สังเกต
และบันทึกผล
8.
นำน้ำมะนาวฉีดพ่นลงในขวดโหลขวดที่ 3 และติดป้ายกำกับไว้ว่า น้ำมะนาว ทิ้งไว้เป็นเวลา 3 วัน สังเกต
และบันทึกผล
9.
นำกระดาษลิตมัสจุ่มลงในน้ำตะไคร้ น้ำมะกรูด และน้ำมะนาว เพื่อวัดค่า pH ของสารธรรมชาติที่นำมาใช้ในการทดลอง
สังเกต และบันทึกผล
การทดลองที่ 2 ศึกษาอัตราส่วนของมูลไก่ต่อปริมาณสารธรรมชาติที่เหมาะสม
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
เพื่อศึกษาอัตราส่วนของมูลไก่ต่อปริมาณสารธรรมชาติที่เหมาะสม
สมมติฐาน
อัตราส่วนของมูลไก่ต่อปริมาณสารธรรมชาติมีผลต่อประสิทธิภาพในการลดกลิ่นมูลไก่
ตัวแปร
ตัวแปรต้น อัตราส่วนของมูลไก่ต่อปริมาณสารธรรมชาติ
ตัวแปรตาม ประสิทธิภาพในการลดกลิ่นมูลไก่
ตัวแปรควบคุม ระยะเวลาในการทดลอง,
สถานที่
วิธีการทดลอง
1. นำปริมาณมูลไก่ และน้ำมะกรูดในอัตราส่วน
1:1 ใส่ในขวดโหล และทิ้งไว้ 3 วัน สังเกต
และบันทึกผล
2. นำปริมาณมูลไก่
และน้ำมะกรูดในอัตราส่วน 2:3 ใส่ในขวดโหล และทิ้งไว้ 3 วัน สังเกต
และบันทึกผล
3. นำปริมาณมูลไก่
และน้ำมะกรูดในอัตราส่วน 2:1 ใส่ในขวดโหล และทิ้งไว้ 3 วัน สังเกต
และบันทึกผล
***หมายเหตุ อัตราส่วน
ปริมาณมูลไก่ ต่อ ปริมาณน้ำมะกรูด
= 100 กรัม : 10 c.c.
= 1 : 1
การทดลองที่ 3 ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของสารธรรมชาติที่สามารถลดกลิ่นมูลไก่ได้ดีขึ้น
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
เพื่อศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของสารธรรมชาติที่สามารถลดกลิ่นมูลไก่ได้ดีขึ้น
สมมติฐาน
ประสิทธิภาพของสารธรรมชาติ
มีผลต่อความสามารถในการลดกลิ่นมูลไก่
ตัวแปร
ตัวแปรต้น อัตราส่วนของปริมาณน้ำมะกรูดต่อปริมาณน้ำมะนาว
ตัวแปรตาม ความสามารถในการลดกลิ่นมูลไก่
ตัวแปรควบคุม ปริมาณมูลไก่,
ระยะเวลาในการทดลอง, สถานที่
วิธีการทดลอง
1. นำน้ำมะกรูด ผสมกับน้ำมะนาวในอัตราส่วน 1:1 ใส่ในขวดโหลที่มีมูลไก่ 100 กรัม
และทิ้งไว้ 3 วัน สังเกต และบันทึกผล
2. นำน้ำมะกรูด
ผสมกับน้ำมะนาวในอัตราส่วน 2:1
ใส่ในขวดโหลที่มีมูลไก่ 100 กรัม และทิ้งไว้ 3 วัน สังเกต และบันทึกผล
3. นำน้ำมะกรูด
ผสมกับน้ำมะนาวในอัตราส่วน 1:2
ใส่ในขวดโหลที่มีมูลไก่ 100 กรัม และทิ้งไว้ 3 วัน สังเกต และบันทึกผล
ตอนที่
2 เผยแพร่ประโยชน์ของสารธรรมชาติที่สามารถดับกลิ่นมูลไก่ได้ ให้แก่ครู นักเรียน และชุมชน ตลอดจนภารโรง
และฟาร์มต่างๆ
วิธีดำเนินการ
1. ครูที่ปรึกษาและคณะผู้จัดทำ ประชุมวางแผนดำเนินการเผยแพร่ความรู้
พร้อมสาธิตให้กับ ครู ภารโรง ผู้ปกครอง และฟาร์มต่างๆ
2. คณะผู้จัดทำดำเนินการแจกสารธรรมชาติให้แก่ผู้ปกครอง ครู ภารโรง และฟาร์มต่างๆไปทดลองใช้
3. คณะผู้จัดทำแจกใบแสดงความคิดเห็นให้กับครู ผู้ปกครอง ภารโรง
และฟาร์มต่างๆ หลังจากนำสารธรรมชาติ ไปทดลองใช้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)