บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เนื่องจากฟาร์มไก่ตั้งอยู่ติดกับบ้านจัดสรรพบว่า
กลิ่นของมูลไก่มีกลิ่นเหม็นส่งผลกระทบกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบ้านจัดสรร
คณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหากลิ่นของมูลไก่ ให้มีกลิ่นน้อยลง โดยใช้สารธรรมชาติเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ
และรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน
แล้วยังได้รับผลประโยชน์ทั้งสองฝ่ายโดยทางเราไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมี
และไก่จะได้ไม่ต้องเสียสุขภาพ และตายด้วยสารเคมี
ส่วนทางบ้านจัดสรรก็จะไม่ได้รับผลกระทบจากกลิ่นมูลไก่อีก
แนวคิดในการทำโครงงาน
คณะผู้จัดทำได้ศึกษาชนิดของสารธรรมชาติที่ลดกลิ่นมูลไก่ได้ดีขึ้น
ศึกษาอัตราส่วนของมูลไก่ต่อปริมาณสารธรรมชาติที่เหมาะสม
ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของสารธรรมชาติที่สามารถลดกลิ่นมูลไก่ได้ดีขึ้น
จากการศึกษาการลดกลิ่นมูลไก่ด้วยสารธรรมชาติ
คณะผู้จัดทำไดนำสารธรรมชาติมาเผยแพร่ให้แก่คุณครู นักเรียน ผู้ปกครอง ภารโรง
และชุมชนเพื่อที่จะได้เป็นโครงงาน IS ที่เป็นลักษณะวิจัย นำไปใช้และพัฒนา (Research and Development)
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1.
เพื่อศึกษาชนิดของสารธรรมชาติที่ลดกลิ่นมูลไก่ได้ดี
2.
เพื่อศึกษาอัตราส่วนของมูลไก่ต่อปริมาณสารธรรมชาติที่เหมาะสม
3.
เพื่อศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของสารธรรมชาติที่ลดกลิ่นมูลไก่ได้ดีขึ้น
สมมติฐาน
1.
ชนิดของสารธรรมชาติต่างกันมีผลต่อความสามารถในการลดกลิ่นมูลไก่ได้ต่างกัน
2.
อัตราส่วนของมูลไก่ต่อปริมาณสารธรรมชาติต่างกันมีผลต่อประสิทธิภาพในการลดกลิ่นมูลไก่ได้ต่างกัน
3.
การเพิ่มประสิทธิภาพของของสารธรรมชาติสามารถลดกลิ่นมูลไก่ได้ดีขึ้น
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
การทดลองที่ 1 ศึกษาชนิดของสารธรรมชาติที่ลดกลิ่นมูลไก่ได้ดี
ตัวแปรต้น ชนิดของสารธรรมชาติ
ตัวแปรตาม ความสามารถในการลดกลิ่นมูลไก่
ตัวแปรควบคุม ปริมาณสารธรรมชาติปริมาณมูลไก่ ระยะเวลาสถานที่
การทดลองที่ 2 ศึกษาอัตราส่วนของมูลไก่ต่อปริมาณสารธรรมชาติที่เหมาะสม
ตัวแปรต้น อัตราส่วนของมูลไก่ต่อปริมาณสารธรรมชาติ
ตัวแปรตาม ความสามารถในการลดกลิ่นมูลไก่
ตัวแปรควบคุม ปริมาณสารธรรมชาติ ปริมาณมูลไก่ ระยะเวลา สถานที่
การทดลองที่ 3 ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของสารธรรมชาติที่ลดกลิ่นมูลไก่ได้ดีขึ้น
ตัวแปรต้น การเพิ่มประสิทธิภาพของสารธรรมชาติ
ตัวแปรตาม ความสามารถในการลดกลิ่นมูลไก่
ตัวแปรควบคุม ปริมาณสารธรรมชาติ ปริมาณมูลไก่ ระยะเวลา
สถานที่
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1.
ชนิดของวัสดุที่ใช้ในการศึกษา
คือ มะนาว ตะไคร้ มะกรูด
2.
ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง
คือ 3 5
7 9 11 วัน
3.
ชนิดของวัสดุที่ใช้ในการศึกษา
คือ น้ำมะกรูด น้ำมะนาว น้ำตะไคร้
นิยามเชิงปฏิบัติการ
ประสิทธิภาพในการลดกลิ่นมูลไก่ หมายถึง เมื่อนำน้ำมะกรูด น้ำมะนาว น้ำตะไคร้
ไปใส่ในมูลไก่ในแต่ละโหล แล้วทิ้งไว้เป็นเวลา 3 วัน พบว่าสามารถลดกลิ่นมูลไก่ได้ดี ปานกลาง และต่ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น