บทที่ 3
วิธีการดำเนินการศึกษา
สถานที่และระยะเวลา
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง
“การดับกลิ่นมูลไก่ด้วยสารธรรมชาติ” ได้ดำเนินการศึกษา ณ บ้านเลขที่ 90-92 ถ.
เทศบาล 1 อ. สองพี่น้อง ต. สองพี่น้อง จ. สุพรรณบุรี เป็นเวลา 9 วัน
วัสดุอุปกรณ์
1.
ตะไคร้
2.
มะนาว
3.
ใบมะกรูด
4.
กระดาษลิตมัส
5.
ขวดโหลแก้ว
6.
แอลกอฮอล์
7.
มูลไก่
8.
เข็มฉีดยา
9.
ถุงร้อน
10. ยางรัดของ
ตอนที่
1 การทดลอง แบ่งออกเป็น 3 การทดลอง ดังนี้
การทดลองที่ 1 ศึกษาชนิดของสารธรรมชาติที่ลดกลิ่นมูลไก่ได้ดี
การทดลองที่ 2 ศึกษาอัตราส่วนของมูลไก่ต่อปริมาณสารธรรมชาติที่เหมาะสม
การทดลองที่ 3 ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของสารธรรมชาติที่สามารถลดกลิ่นมูลไก่ได้ดีขึ้น
การทดลองที่ 1
ศึกษาชนิดของสารธรรมชาติที่ลดกลิ่นมูลไก่ได้ดี
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
เพื่อศึกษาชนิดของสารธรรมชาติที่ลดกลิ่นมูลไก่ได้ดี
สมมติฐาน
ชนิดของสารธรรมชาติต่างกันมีผลต่อความสามารถในการลดกลิ่นมูลไก่ได้ต่างกัน
ตัวแปร
ตัวแปรต้น ชนิดของสารธรรมชาติ
ตัวแปรตาม ความสามารถในการลดกลิ่นมูลไก่
ตัวแปรควบคุม ปริมาณสารธรรมชาติ, ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง, ปริมาณมูลไก่, สถานที่
วิธีการทดลอง
1. นำตะไคร้ และใบมะกรูด
มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อให้สมุนไพรออกกลิ่นได้เร็วกว่าการที่ต้มโดยไม่หั่น
2. นำตะไคร้
และใบมะกรูดที่หั่นแล้ว มาต้มในแอลกอฮอล์
3. นำตะไคร้
และใบมะกรูดที่ต้มแล้วมากรองนำกากออก จะได้น้ำตะไคร้ และน้ำมะกรูด
4. นำมะนาวมาคั้นเอาแต่น้ำ
จะได้น้ำมะนาว
5. เตรียมมูลไก่ใส่ในขวดโหล 3 ขวด
โดยใส่มูลไก่ขวดละ 100 กรัม สังเกต และบันทึกผล
6.
นำน้ำตะไคร้ฉีดพ่นลงในขวดโหลขวดที่ 1 และติดป้ายกำกับไว้ว่า น้ำตะไคร้ ทิ้งไว้เป็นเวลา 3 วัน สังเกต
และบันทึกผล
7.
นำน้ำมะกรูดฉีดพ่นลงในขวดโหลขวดที่ 2 และติดป้ายกำกับไว้ว่า น้ำมะกรูด ทิ้งไว้เป็นเวลา 3 วัน สังเกต
และบันทึกผล
8.
นำน้ำมะนาวฉีดพ่นลงในขวดโหลขวดที่ 3 และติดป้ายกำกับไว้ว่า น้ำมะนาว ทิ้งไว้เป็นเวลา 3 วัน สังเกต
และบันทึกผล
9.
นำกระดาษลิตมัสจุ่มลงในน้ำตะไคร้ น้ำมะกรูด และน้ำมะนาว เพื่อวัดค่า pH ของสารธรรมชาติที่นำมาใช้ในการทดลอง
สังเกต และบันทึกผล
การทดลองที่ 2 ศึกษาอัตราส่วนของมูลไก่ต่อปริมาณสารธรรมชาติที่เหมาะสม
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
เพื่อศึกษาอัตราส่วนของมูลไก่ต่อปริมาณสารธรรมชาติที่เหมาะสม
สมมติฐาน
อัตราส่วนของมูลไก่ต่อปริมาณสารธรรมชาติมีผลต่อประสิทธิภาพในการลดกลิ่นมูลไก่
ตัวแปร
ตัวแปรต้น อัตราส่วนของมูลไก่ต่อปริมาณสารธรรมชาติ
ตัวแปรตาม ประสิทธิภาพในการลดกลิ่นมูลไก่
ตัวแปรควบคุม ระยะเวลาในการทดลอง,
สถานที่
วิธีการทดลอง
1. นำปริมาณมูลไก่ และน้ำมะกรูดในอัตราส่วน
1:1 ใส่ในขวดโหล และทิ้งไว้ 3 วัน สังเกต
และบันทึกผล
2. นำปริมาณมูลไก่
และน้ำมะกรูดในอัตราส่วน 2:3 ใส่ในขวดโหล และทิ้งไว้ 3 วัน สังเกต
และบันทึกผล
3. นำปริมาณมูลไก่
และน้ำมะกรูดในอัตราส่วน 2:1 ใส่ในขวดโหล และทิ้งไว้ 3 วัน สังเกต
และบันทึกผล
***หมายเหตุ อัตราส่วน
ปริมาณมูลไก่ ต่อ ปริมาณน้ำมะกรูด
= 100 กรัม : 10 c.c.
= 1 : 1
การทดลองที่ 3 ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของสารธรรมชาติที่สามารถลดกลิ่นมูลไก่ได้ดีขึ้น
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
เพื่อศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของสารธรรมชาติที่สามารถลดกลิ่นมูลไก่ได้ดีขึ้น
สมมติฐาน
ประสิทธิภาพของสารธรรมชาติ
มีผลต่อความสามารถในการลดกลิ่นมูลไก่
ตัวแปร
ตัวแปรต้น อัตราส่วนของปริมาณน้ำมะกรูดต่อปริมาณน้ำมะนาว
ตัวแปรตาม ความสามารถในการลดกลิ่นมูลไก่
ตัวแปรควบคุม ปริมาณมูลไก่,
ระยะเวลาในการทดลอง, สถานที่
วิธีการทดลอง
1. นำน้ำมะกรูด ผสมกับน้ำมะนาวในอัตราส่วน 1:1 ใส่ในขวดโหลที่มีมูลไก่ 100 กรัม
และทิ้งไว้ 3 วัน สังเกต และบันทึกผล
2. นำน้ำมะกรูด
ผสมกับน้ำมะนาวในอัตราส่วน 2:1
ใส่ในขวดโหลที่มีมูลไก่ 100 กรัม และทิ้งไว้ 3 วัน สังเกต และบันทึกผล
3. นำน้ำมะกรูด
ผสมกับน้ำมะนาวในอัตราส่วน 1:2
ใส่ในขวดโหลที่มีมูลไก่ 100 กรัม และทิ้งไว้ 3 วัน สังเกต และบันทึกผล
ตอนที่
2 เผยแพร่ประโยชน์ของสารธรรมชาติที่สามารถดับกลิ่นมูลไก่ได้ ให้แก่ครู นักเรียน และชุมชน ตลอดจนภารโรง
และฟาร์มต่างๆ
วิธีดำเนินการ
1. ครูที่ปรึกษาและคณะผู้จัดทำ ประชุมวางแผนดำเนินการเผยแพร่ความรู้
พร้อมสาธิตให้กับ ครู ภารโรง ผู้ปกครอง และฟาร์มต่างๆ
2. คณะผู้จัดทำดำเนินการแจกสารธรรมชาติให้แก่ผู้ปกครอง ครู ภารโรง และฟาร์มต่างๆไปทดลองใช้
3. คณะผู้จัดทำแจกใบแสดงความคิดเห็นให้กับครู ผู้ปกครอง ภารโรง
และฟาร์มต่างๆ หลังจากนำสารธรรมชาติ ไปทดลองใช้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น